AHCC ชะลอการดำเนินของมะเร็งกระเพาะอาหารกลับซ้ำ
นายแพทย์ยาซาอิ คาวากูชิ ศัลยแพทย์มหาวิทยาลัยแพทย์คันไซ รายงานการรักษาผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาระยะรุนแรงที่ปฏิเสธการรักษาด้วยการผ่าตัดและการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งที่พบมากในแถบเอเชีย เช่น จีน เกาหลี มองโกเลียและพบมากที่สุดเป็นมะเร็งอันดับต้นๆในประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทยเองมีแนวโน้มพบมากขึ้นเรื่อยๆ จากความนิยมทานอาหารปิ้งย่าง อาหารหมักดอง อาหารเค็มจัด รวมทั้งการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้าล้วนเป็นสาเหตุทั้งสิ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยกรดไหลย้อน ( GRED ) ซึ่งเกิดการสำรอกอาหารบ่อยๆทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหารและกระเพาะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของมะเร็งกระเพาะอาหารเช่นกัน
มะเร็งกระเพาะอาหารนั้นหากตรวจพบในระยะเริ่มแรกการรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นวิธีรักษาที่ได้ผลดีมาก สถิติการมีชีวิตยืนยาวในระยะเวลา 5 ปีหลังการผ่าตัดสูงถึง 95.4% และอัตราไม่มีการกลับมาเป็นซ้ำอีกนั้นอยู่ที่ 93.7% ถือว่าเป็นอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับมะเร็งอื่น แต่โอกาสการกลับซ้ำยังคงมีอยู่แม้จะมีโอกาสน้อย
นายแพทย์คาวากูชิศัลยแพทย์มหาวิทยาลัยแพทย์คันไซ ได้รายงานประสบการณ์การรรักษาผู้ป่วยชาย อายุ 62 ปี ป่วยด้วยมะเร็งกระเพาะอาหารซึ่งขณะที่ตรวจพบนั้นมะเร็งยังอยู่ในระยะเริ่มแรกเท่านั้น แพทย์ได้ให้การรักษาด้วยการผ่าตัดซึ่งผ่านพ้นไปอย่างราบรื่น หลังการผ่าตัดมีการตรวจติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ในปีที่ 4 หลังการผ่าตัดจึงตรวจพบว่ามีการกลับซ้ำของมะเร็งกระเพาะ โดยครั้งนี้ทำให้ผู้ป่วยไม่มั่นใจที่จะรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นครั้งที่สอง ผู้ป่วยจึงปฏิเสธการรักษาแนวทางแพทย์แผนตะวันตกคือการผ่าตัดหรือการรับยาเคมีบำบัด การแพทย์ทางเลือกจึงเป็นทางเลือกที่ผู้ป่วยตัดสินใจเข้ารับการรักษาการกลับมาเป็นซ้ำครั้งนี้ ทั้งที่ยังไม่มีรายงานถึงอัตรามีชีวิตที่ยืนยาวจากการรักษาทางนี้
AHCC ยืดอายุเพิ่มคุณภาพชีวิต
แพทย์แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทาน Active Hexose Correlated Compound ( AHCC ) วันละ 3 กรัม ในการรักษาครั้งนี้ โดยเริ่มทานตั้งแต่พฤษภาคมปี 2000 และนัดตรวจติดตามผลการรักษาเป็นระยะๆ มาโดยตลอด จากการตรวจติดตามผลอย่างต่อเนื่อง 14 ปี ตั้งแต่เริ่มทาน คือปี 2000 จนถึงปี 2014 พบว่าการดำเนินของโรคชะลอลงคือยังคงตรวจพบมะเร็งแต่ไม่พบการแพร่กระจาย ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ในปี 2014 ตรวจพบว่ามะเร็งกระเพาะอยู่ในระยะรุนแรงระดับที่1 แต่ยังไม่พบการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ และค่า CEA ซึ่งเป็นค่าดัชนีบ่งชี้มะเร็งยังอยู่ในระดับปกติ ตลอดระยะเวลาที่รับประทาน AHCC นั้นแพทย์แนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดเสมอมาแต่ผู้ป่วยปฏิเสธจนปี 2014 พบว่าโรคดำเนินมาอยู่ในระยะรุนแรงแต่ก็ยังสามารถผ่าตัดได้เนื่องจากไม่มีการแพร่กระจายไปสู่ที่อื่นๆ ผู้ป่วยจึงยินยอมเข้ารับการผ่าตัด และเนื่องจากโรคอยู่ในระยะรุนแรงหลังผ่าตัดแพทย์แนะนำให้รักษาด้วยเคมีบำบัดเพื่อเก็บกวาดเซลล์มะเร็งที่อาจมีหลงเหลืออยู่ในร่างกายในปริมาณที่ไม่สามารถตรวจพบ เป็นการป้องกันการกลับซ้ำและการแพร่กระจายของโรค แต่ผู้ป่วยปฏิเสธเนื่องจากกลัวผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด ดังนั้นหลังจากการผ่าตัดผู้ป่วยยังคงรับประทาน AHCC วันละ 3 กรัมทุกวันและเข้ารับการตรวจติดตามผลมาโดยตลอด จากวันนั้นในปี 2014 จนถึงวันนี้ปี 2016 แพทย์พบว่าผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดีและไม่พบการกลับซ้ำหรือการแพร่กระจายของโรคไปยังอวัยวะอื่นๆ
แพทย์ญี่ปุ่นวิจัยพบสารสกัด AHCC (Active Hexose Correlated Compound) ลดการกลับซ้ำของมะเร็งตับ
คณะศัลยแพทย์มหาวิทยาลัยแพทย์คันไซได้ทำการวิจัยทางคลินิกในผู้ป่วยมะเร็งตับเพื่อลดการกลับซ้ำของมะเร็งตับหลังจากการรักษาด้วยการผ่าตัด ทั้งนี้เนื่องจากอัตราการกลับซ้ำในระยะเวลา 5 ปี อยู่ในอัตราสูงถึง 100% กรณีที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีร่วมด้วย การวิจัยนี้เป็นการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งตับที่ได้รับ AHCC และกลุ่มที่ไม่ได้รับ แพทย์ให้กลุ่มที่ได้รับ รับประทาน AHCC วันละ 3 กรัม เพื่อฟื้นฟูสุขภาพตับและลดโอกาสการกลับซ้ำของมะเร็งตับ การศึกษาวิจัยนี้ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางการแพทย์ Journal of Hepatology โดยผลการวิจัยแสดงว่า AHCC ช่วยลดอัตราการกลับซ้ำของมะเร็งตับในระยะเวลา 10 ปี เหลือ 34.5% เพิ่มอัตราการมีชีวิตที่ยืนยาว โดยมีภาวะการทำงานของตับที่ดีขึ้น และลดการอักเสบของตับ
ทั้งนี้จากการวิจัยอย่างต่อเนื่องโดยบุคลากรทางการแพทย์ในนานาประเทศนั้น แสดงว่า AHCC มีผลเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยทั้งช่วยเพิ่มปริมาณเซลล์ภูมิคุ้มกันและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเซลล์มะเร็ง รวมทั้งช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญ
Reference :
Active Hexose Correlated Compound enhances extrinsic pathway-mediated apoptosis of Acute Myeloid Leukemic cells : journal.pone.0181729
References :
- Matsui Y, Uhara J, Satoi S, Kaibori M, Yamada H, Kitade H, et al. Improved prognosis of postoperative hepatocellular carcinoma patients when treated with functional foods: a prospective cohort study. Journal of Hepatology 2002;37:78-86.
- Kawaguchi Y. Case Report #1: Stomach Cancer. In: Kulkarni AD, Calder P, Ito T, editors. International Congress on Nutrition and Integrative Medicine (ICNIM); 2016 July 9-10. Sapporo, Japan. Hokkaido:ICNIM 2016. p.222-7.