Download the PDF full-text

 

AHCC ชะลอการเจริญเติบโต ลดการแพร่กระจายเซลล์มะเร็งเต้านม


มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทยและทั่วโลก ในประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 22,158 รายต่อปีหรือชั่วโมงละ 2.5 คน และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านม 8,266 รายต่อปี หรือ ชั่วโมงละ 0.94 คน

การรักษามะเร็งเต้านมมีหลายวิธีตั้งแต่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัดและการฉายรังสี ทั้งนี้ขึ้นกับระยะของโรคและชนิดของเซลล์มะเร็ง ปัจจุบันแม้จะมียาเคมีบำบัดหลากหลายขึ้น รวมถึงยาเคมีบำบัดแบบพุ่งเป้า แต่ยังไม่มียาใดที่สามารถป้องกันการกลับเป็นซ้ำหรือป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพชัดเจน

การเติบโตและขยายตัวอย่างต่อเนื่องของก้อนมะเร็งนั้นถูกขับเคลื่อนโดยกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า เสต็มเซลล์มะเร็ง (Cancer Stem Cells, CSCs) กลุ่มเซลล์นี้มีความสามารถในการแบ่งตัวเพื่อสร้างเซลล์ใหม่ได้หลายครั้งทำให้จำนวนเซลล์มะเร็งเพิ่มขึ้นและมีความแตกต่างหลากหลายของเซลล์ ทั้งนี้เซลล์ CSCs มีความทนทานต่อยาเคมีบำบัดและการฉายรังสี ในมะเร็งเต้านมเราสามารถแยกเซลล์กลุ่มนี้ออกมาได้โดยชนิดของโปรตีนบนผิวเซลล์เป็น CD44+/CD24- และจากความสามารถในการเติบโตเป็นก้อนทรงกลมที่เรียกว่า Mamosphere

เซลล์ CSCs นี้เชื่อว่ามีการเชื่อมต่อกับส่วนรอยต่อส่งผ่านของเซลล์ชั้นเยื่อบุผิวของเนื้อเยื่อโดยรอบซึ่งตรงจุดนี้มีความสัมพันธ์กับการกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง โดยถ้าบริเวณรอยต่อยินยอมให้เซลล์มะเร็งเคลื่อนตัวแทรกเข้ามารุกรานเนื้อเยื่อรอบๆ และเข้าไปในกระแสเลือดได้ก็จะเกิดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปอวัยวะอื่นๆ

นอกจากนี้ในการอยู่รอดและเติบโต เซลล์มะเร็งเต้านมสร้างโปรตีนที่เรียกว่า Oncogenic Terrascin C (TNC) ที่สามารถต้านการตรวจจับและกำจัดจากภูมิคุ้มกันชนิด T cell รวมทั้งยังมีผลยับยั้งการเคลื่อนที่ของ Tcell

 

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองเพื่อประเมินศักยภาพของ Active Hexose Correlated Compound (AHCC) ต่อ MicroRNA ที่มีผลควบคุมการเติบโตเสต็มเซลล์มะเร็ง

Triple Negative Breast Cancer (TNBC) เป็นมะเร็งเต้านมชนิดที่ไม่มีตัวตอบรับกับฮอร์โมนหรือยีนส์ HER2 มีสัดส่วนประมาณ 15-20% ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด มีลักษณะที่ Aggressive ส่งผลให้เป็นมะเร็งเต้านมที่มีการพยากรณ์ของโรคแย่ที่สุดเทียบกับชนิดอื่นและมีอัตราการกลับเป็นซ้ำสูงที่สุด

การวิจัยนี้จึงเน้นเซลล์มะเร็งชนิด TNBC โดยผลการวิจัยแสดงว่า AHCC มีผลดังนี้

ลดการเติบโตและลดขนาดของ Mamosphere 

รายงานการวิจัยในหลอดทดลองพบว่า AHCC มีผลชะลอการเติบโตของ mamosphere มะเร็งทั้ง 3 ชนิดคือ MDA-MB-231, 4T1 และ MCF-7 อย่างมีนัยสำคัญ โดยผลการยับยั้งแปรผันตรงกับความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นของ AHCC

 

ยับยั้งการแพร่กระจาย การแทรกตัวและการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็งเต้านม

miRNA เป็นสายพันธุกรรมขนาดสั้นที่มีบทบาทในการยับยั้งการเนื้องอกในมะเร็งหลายชนิดโดยมีผลหลายทางตั้งแต่ยับยั้งการเริ่มก่อตัวของก้อนมะเร็ง การเจริญเติบโตและการแพร่กระจาย รวมทั้งยังมีผลต่อสภาพแวดล้อมและความไวต่อยาของมะเร็ง โดยปกติเซลล์มะเร็งจะปกป้องตนเองจากการตรวจจับและกำจัดโดยเม็ดเลือดขาว Tcell โดยการหลั่งสาร TNC มาล้อมรอบตัวเองไว้ ทำให้เม็ดเลือดขาว T Cell เคลื่อนที่ช้าลงและตรวจไม่พบเซลล์มะเร็ง รายงานการวิจัยพบว่า miRNA มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการหลั่งสาร TNC

จากการวิจัยในสัตว์ทดลองแสดงว่า AHCC มีผลทำให้เกิดการสร้าง miRNA เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เป็นผลให้การแพร่กระจายและการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด MDA-MB-231 ลดลงเมื่อได้รับ AHCC





Figure 6. AHCC upregulates miR-335 expression in MDA-MB-231 mammospheres.

Results are a combination of means § SEM from 3 separate experiments. MDAMB-231 cells were plated in 6-well ultra-low attachment plates in DMEM-F12 and spheroid medium and incubated at 5% CO2 and 37_C. Cells were exposed to varying

concentrations of AHCC for 5 hours. MiR-335 expression levels were measured by RT-qPCR in comparison to reference snRNA U6. Significance is represented by _for p < 0.05 by Tukey’s post-hoc test.

 

Reference:

MicroRNA signature in the chemoprevention of functionally-enriched stem and progenitor pools (FESPP) by Active Hexose Correlated Compound (AHCC): CANCER BIOLOGY & THERAPY 2017, VOL. 18, NO. 10, 765–774